“ แซกโซโฟน ” เครื่องดนตรีสากลที่มีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของผู้เล่นได้เป็นอย่างดีจึงเป็นที่นิยมของเหล่านักดนตรีอย่างแพร่หลายในระดับโลกเลยทีเดียว และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ บทความนี้จะมาแนะนำทำความรู้จักเบื้องต้นกับเครื่องดนตรีชนิดกัน
ข้อมูลเบื้องต้น แซกโซโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภทไหน ?
“แซกโซโฟน” เป็นเครื่องดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่า โดยวัสดุที่ใช้ทำส่วนลำตัวเป็นโลหะแต่วัสดุที่ใช้ทำลิ้นเป็นไม้จึงทำให้เสียงที่ได้จากแซกโซโฟนนั้นมีการผสมผสานกันระหว่าเครื่องเป่าไม้และโลหะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสียงที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก
1.) แซกโซโฟน มีกี่ชนิด ?
เครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโฟนนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 7 ชนิด โดยแต่ละชนิดก็จะมีรูปทรงและระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งก็จะเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน
1.โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone)
เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็กและเบาจึงสามารถที่จะถือเล่นได้โดยไม่ต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟน ระดับเสียง Bb
2.อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone)
อัลโต้แซกโซโฟน ถือได้ว่าเป็นแซกโซโฟนที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นหัดเล่นแซกโซโฟน เนื่องจากสามารถเปาได้ง่าย มีน้ำหนักที่ไม่หนักมาก และ สามารถใช้เล่นกับดนตรีได้หลากหลายสไตร์ อัลโต้แซกโซโฟนจึงถือได้ว่าเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมในการเล่นมากที่สุด ระดับเสียง Eb
3.เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone)
เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่กว่าอัลโต้แซกโซโฟน นิยมใช้เล่นในแนวดนตรีแจ๊ส แต่ก็ยังมีการใช้ในดนตรีแนวอื่นๆอยู่บ้างตามความต้องการของเสียงที่ได้ โดย เทเนอร์แซกโซโฟน จะให้เสียงที่หนา นุ่ม และอยู่ในย่านที่ต่ำกว่า โซปราโนแซกโซโฟน และ อัลโต้แซกโซโฟน ระดับเสียง Bb
4.บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ เสียงที่เล่นจะอยู่ในย่านต่ำ บาริโทนแซกโซโฟนอาจจะไม่เหมาะสำหรับมือให้ที่พึ่งเริ่มหัดเล่นแซกโซโฟนเนื่องด้วยน้ำหนักที่มากและมีราคาที่ค่อนข้างแพง ระดับเสียง Eb
5.เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone)
เครื่องดนตรีประเภทแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่มีเสียงอยู่ในย่านต่ำจึงถูกใช้เล่นในตำแหน่งย่านเสียงเบสของวง และด้วยตัวเบสแซกโซโฟนที่มีน้ำหนักและขนาดที่ใหญ่มาก จึงอาจจะไม่ได้เห็นนักดนตรีใช้เล่นโดยทั่วไปเท่าไรนัก ระดับเสียง Bb
6.คอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Contrabass Saxophone)
อีกเครื่องดนตรีประเภทแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดความสูงมากกว่าบาริโทนแซกโซโฟนถึงสองเท่าหรือมีความสูงพอๆกับคนยืนเลยทีเดียว คอนทร่าเบส แซกโซโฟน ถือได้ว่าพบเห็นได้ยากมากเนื่องจากคอนทร่าเบส แซกโซโฟน มีเสียงที่อยู่ในย่านต่ำมากซึ่งปัจจุบันวงดนตรีไม่ค่อยใช้โทนเสียงต่ำในระดับคอนทร่าเบส แซกโซโฟนและมีคนที่เล่นคอนทร่าเบส แซกโซโฟนได้นไม่มากนัก ระดับเสียง Eb
7.ซับคอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Subcontrabass Saxophone)
ซับคอนทร่าเบส แซกโซโฟนถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ณ ปัจจุบันนี้ และเป็นแซกโซโฟนที่เล่นเสียงได้ต่ำที่สุด ด้วยเป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่มากและมีเสียงที่ต่ำมากจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ระดับเสียง Bb
2.) ส่วนประกอบของแซกโซโฟน
ส่วนประกอบของแซกโซโฟนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆคือ
1. ส่วนเม้าท์ (Mouthpiece)
มีส่วนประกอบดังนี้
- ที่รัดลิ้น (Ligature)
เป็นส่วนที่ใช้ในการรัดตัวลิ้นกับตัว Mouthpiece เพื่อให้เกิดการสันสะเทือนกับตัว Mouthpiece เพื่อให้เกิดเสียง
- ลิ้น (Reed)
เป็นส่วนที่ทำจากไม้ไผ่ส่วนปลายตัดเป็นรูปโค้งมนส่วนโคนจะมีลักษณ์เป็นไม้แข็งใช้สำหรับยึดกับตัว Mouthpiece โดยส่วนของลิ้นทำหน้าที่กำเนิดเสียงโดยการสั่น
- ส่วนปากเป่า (Mouthpiece)
เป็นส่วนที่ใช้เป่าเพื่อให้เกิดเสียงซึ่งวัสดุที่ใช้ทำนั้นมีทั้งพลาสติกและโลหะโดยวัสดุแต่สะชนิดก็จะให้ลักษณะเสียงที่แตกต่างกัน เช่น พลาสติกจะให้เสียงที่นุ่มนวลกว่า ส่วนโลหะจะได้เสียงที่กังวานกว่า
2. ส่วนคอ (Neck)
คือส่วนโลหะโค้งสามารถถอดประกอบได้ มีหน้าที่เป็นส่วนโค้งที่เชื่อมระหว่างตัวและส่วน Mouthpiece โดยส่วนคอจะมีกระเดื่องสำหรับใช้ ปิด-เปิด รูในการเปลี่ยนเสียง
3. ส่วนตัวเครื่อง (Body)
- ส่วนประกอบของแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีส่วนประกอบมากมาย ซึ่งอาจจะต้องมีการทำความเข้าใจในการใช้งาน โดยตัวเครื่องเป็นส่วนที่ใช้ในการกดเพื่อเล่นเสียงต่างๆ
- นวม เป็นส่วนที่ใช้ในการปิดช่องลมเวลาที่จะเล่นเสียงโน้ตต่างๆโดยวัสดุจะประกอบไปด้วยวัสดุแข็งด้านที่ใช้ติดกับแป้นกดแซกโซโฟน สักหลาดหุ้มด้วยวัสดุหนัง
4.สายสะพายแซกโซโฟน (Saxophone Strap)
ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ถือว่าจำเป็นมากกับการเล่นแซกโซโฟน เพราะสายสะพายจะเป็นส่วนที่ใช้ในการรับน้ำหนักตัวแซกโซโฟนแทนมือของเราและจะเป็นตัวช่วยไม่ให้หล่นเวลาเล่น
3.) หลักการเลือกซื้อแซกโซโฟน
การที่จะเลือกซื้อแซกโซโฟนที่ดีและเหมาะกับเรานั้นอาจจะต้องใช้ประสบการณ์และความรู้หรืออาจจะควรพาผู้ที่มีความรู้ไปช่วยเลือก ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้วจะมีหลักในการเลือกซื้อแซกโซโฟดังนี้
- ชนิดของแซกโซโฟนที่ต้องการจะซื้อ
แน่นอนว่าแซกโซโฟนแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันทั้งขนาดน้ำหนัก ช่วงเสียงที่ต่างกันและหน้าที่ตำแหน่งการเล่นในวงที่ต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกชนิดของแซกโซโฟนที่เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งานของเรา
- คุณภาพเสียงและเอกลักษณ์เสียงที่ต้องการ
แซกโซโฟนแต่ละแบรนด์นั้นก็จะมีเอกลักษณ์ของเสียงที่แตกต่างกันซึ่งก็แล้วแต่ความชอบที่แตกต่างกันของผู้ใช้
- งบประมาณ
แซกโซโฟนในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกมากมายและหลากหลายราคา ดังนั้นการที่เรากำหนดงบประมาณในการซื้อไว้ก่อนก็จะสามารถช่วยในการตัดตัวเลือกที่แพงและถูกเกินไป
- ความสมบูรณ์ของแซกโซโฟน
แน่นอนว่าเมื่อเราเลือกแซกโซโฟนรุ่นที่เราต้องการได้แล้วสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือการตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงาน สิ่งที่ควรตรวจสอบเบื้องต้นมีดังนี้
-
- ตรวจดูว่ามีรอยขีดข่วนหรือบุบหรือไม่ รวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ได้มาพร้อมกับตัวแซกโซโฟนด้วย เช่น กล่องสำหรับใส่แซกโซโฟน
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสียงทุกเสียงด้วยการลองเป่าเพื่อตรวจเช็คว่านวนสามารถปิดได้สนิทหรือไม่
4.) วิธีดูแลรักษาแซกโซโฟน
นอกจากการเลือกแซกโซโฟนที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานของเราแล้วการดูแลรักษาแซกโซโฟนก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้าเราดูแลรักษาแซกโซโฟนอย่างถูกวิธีก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นและการใช้งานก็จะเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
เนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ทำแซกโซโฟนนั้นเป็นโลหะดังนั้นความชื้นจึงเป็นสิ่งที่ควรระวังในการใช้และเก็บรักษาไม่ว่าจะเป็นความชื้นจากอากาศหรือความชื้นจากน้ำลายเวลาเป่าที่อยู่ภายในเครื่อง ดังนั้นจึงจะต้องมีการทำความสะอาดตัวเครื่องอย่างสม่ำเสมอและกับเครื่องดนตรีอย่างถูกวิธีเพื่อลดการสัมผัสความชื้นของเครื่องดนตรี โดยการดูแลรักษามีดังนี้
การทำความสะอาดภายในเครื่อง
- เช็ดทำความสะอาดส่วนเม้าท์ (Mouthpiece) และ ส่วนคอ (Neck) ด้วยผ้าทำความสะอาด (Cleaning Swab) ในส่วนของ Baritone Saxophone จะต้องมีการปล่อยน้ำลายที่อยู่ภายในส่วนคอออกให้หมด
- ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับทำความสะอาดภายในแซกโซโฟน โดยส่วนให้อุปกรณ์ทำความสะอาดจะมีแถมมากับแซกโซโฟมมือหนึ่ง
- ทำความสะอาดภายในส่วนคอด้วยน้ำอุ่นผสมสบู่ ใช้อุปกรณ์ทำสำหรับทำความสะอาดภายในคอขัดทำความสะอาดแล้วล่างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง เดือนละครั้ง
การทำความสะอาดภายนอก
- เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยผ้า Polishing Cloth โดยอาจจะใช้น้ำยา Lacquer Polish เล็กน้อยเช็ดบริเวณที่สกปรก ในส่วนของแซกโซโฟนที่เคลือบด้วยแลคเกอร์พิเศษห้ามใช้น้ำยาเช็ดนิเกิล (Metal Polish) เพราะจะทำให้แลคเกอร์ที่เคลือบลอกได้ ส่วนเครื่องชุบด้วยเงินให้ใช้น้ำยาขัดเงิน (Silver Polish) ทำความสะอาด
- ในส่วนของกระเดื่องไม่ควรใช้น้ำยาในการทำความสะอาดให้ใช้ผ้าเช็ดเบาๆใส่วนที่เป็นซอกที่ผ้าเข้าไม่ถึงให้ใช้ลวดสักหลาดทำความสะอาด
การดูแลรักษาส่วนนวม
- ถือได้ว่าเป็นส่วนที่ต้องระวังในเรื่องความชื้นมากที่สุดดังนั้นการทำความสะอาดจึงห้ามใช้น้ำโดยเด็ดขาด โดยการทำความสะอาดจะเป็นการใช้กระดาษซับนวมสอดเข้าไประหว่างรูเสียงกับนวมแล้วกดกระเดื่องเพื่อให้กระดาษดูดซับความชื้นที่นวมจนแห้ง
การใช้งานและเก็บรักษาที่ถูกวิธี
- การใช้งานที่ถูกวิธี
การใช้งานที่ผิดวิธีหรือการใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ได้ เช่น เวลาเล่นแซกโซโฟนแล้วไม่ใช้สายสะพายก็อาจจะทำให้อุปกรณ์หล่นได้ง่าย
- รักษาที่ถูกวิธี
แน่นอนว่าความชื้นมีผลกับตัวแซกโซโฟนเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าเราจะทำความสะอาดตัวแซกโซโฟนไม่ให้มความชื้นอยู่ตลอดแต่ถ้าเราเก็บแซกโซโฟนไว้ในที่ๆใกล้กับแหล่งความชื้นหรือเก็บไม่ดีก็อาจจะทำให้แซกโซโฟนเกิดความเสียหายได้
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ทำความสะอาดแซกโซโฟน