9 โปรแกรมทำเพลง ฟรี! สำหรับมือใหม่ พร้อมหลักการใช้งานเบื้องต้น

สำหรับนักดนตรีมือใหม่ที่เริ่มเล่นเครื่องดนตรีได้บ้างแล้ว อาจจะมีความคิดที่อยากจะบันทึกเสียงและผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการ cover หรือเขียนผลงานเป็นของตัวเองขึ้นมาก็ตาม อาจจะเป็นทั้งการบันทึกวีดีโอรวมไปถึงการบันทึกเสียงซึ่ง ต้องการบันทึกภาพนั้นอาจจะทำได้ง่ายเพราะมีอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือก็สามารถบันทึกวีดีโอคุณภาพสูงได้แล้ว แต่สำหรับการบันทึกเสียงนั้นแตกต่างออกไปเพราะจำเป็นที่จะต้องมีทั้ง โปรแกรมทำเพลง ที่ไว้สำหรับบันทึกเสียงแล้วยังต้องมี Audio Interface หรือที่เรียกติดปากกันว่าซาวการ์ดอีกด้วย รวมไปถึงคอมพิวเตอร์อีกด้วย

จะเห็นว่าการบันทึกเสียงนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกทั้งตัว interface หรือ โปรแกรมทำเพลง ทั้ง 2 อย่างนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การอัดเสียงนั้นออกมาดีมีคุณภาพที่ใช้ได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะดูไกลตัว และต้องหาความรู้เพิ่มเติม ในบทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ โปรแกรมทำเพลง ที่ใช้บันทึกเสียงง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ รวมไปถึงวิธีการใช้งานเบื้องต้นอีกด้วย

แนะนำการใช้งาน โปรแกรมทำเพลง เบื้องต้น

สำหรับโปรแกรมทำเพลงนั้นแน่นอนว่ามีหลากหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ ซึ่งแต่ละโปรแกรมนั้นก็จะมีความคล้ายคลึงกันในการใช้งาน แต่ถ้าเข้าใจหลักการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมไหนก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับโปรแกรมที่มีได้

 

ให้เปรียบเสมือนโปรแกรมทำเพลงนั้นเป็นรถยนต์ถ้าเราขับรถได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยี่ห้อไหนก็สามารถขับได้ไปถึงเป้าหมายเหมือนกัน ไม่ต่างกับโปรแกรมทำเพลงที่ถ้าเราเข้าใจแล้ว ก็สามารถใช้ได้ทุกโปรแกรมนั้นเอง

 

หลักการและขั้นตอนทำเพลงเบื้องต้นในการใช้ โปรแกรมทำเพลง

ขั้นตอนการใช้โปรแกรมบันทึกเสียง เบื้องต้นนั้นจะคล้ายๆกันทุก ๆ โปรแกรมเมื่อเราเปิดเข้ามาในโปรแกรมแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาโดยหน้าต่างหลักๆจะมี 2 ส่วนคล้ายๆกันในทุกโปรแกรม คือ หน้าต่างหลักที่จะมีแทรคเครื่องดนตรีต่างๆ (Tracks) และ หน้าต่าง Mixer ซึ่งจะเป็นตัวปรับแต่งเสียงโดยจำลองมาจากเครื่อง Mixer จริง ๆ

โปรแกรมทำเพลง
โปรแกรม Avid Pro Tools โปรแกรมทำเพลงในระดับมืออาชีพ
โปรแกรม Logix Pro X หน้าตาคล้ายกันกับ Pro Tools

โดยในขั้นตอนแรกนั้นก็จะเริ่มทำการบันทึกเสียงเข้าไปภายในโปรแกรมก่อนโดยจำเป็นที่จะต้องมี Audio Interface ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ของเราและต่อเครื่องดนตรีหรือไมโครโฟนเข้ากับ Interface และทำการบันทึกเสียงเข้าไปในโปรแกรม โดยเราจะต้องสร้าง Track ขึ้นมาไว้สำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น

การต่อใช้งาน interface เพื่อทำการบันทึกเสียง

เมื่อทำการอัดเสียงแล้วเราจะได้ Track เสียงออกมาในหน้าต่างหลัก ซึ่งคืออยู่กับว่าเราต้องการบันทึกเสียงอะไรบ้าง ถ้ามีเครื่องดนตรีเยอะชิ้นจำนวน Track ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเราทำการอัดเสียงจนได้ตามความต้องการแล้วก็จะนำมาตัดต่อเสียง(Editing) และปรับแต่งเสียง(Mixing) ในขั้นตอนต่อไป

ในส่วนของการตัดต่อ หรือ Editing ถ้าเปรียบเทียบนั้นก็จะคล้าย ๆ การปรับแต่งภาพใน Photoshop เป็นการทำความสะอาดเสียงที่อัดให้มาเรียบร้อยก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผสมเสียง ซึ่งการตัดต่อเสียงนั้นก็สามารถทำได้บนโปรแกรมที่ใช้บันทึกเสียงได้เลย โดยจะไม่ขอพูดถึงขั้นตอนและการใช้งานอุปกรณ์ในการตัดต่อเสียงในบทความนี้

ขั้นตอนการปรับแต่งเสียง

เมื่อทำการตัดต่อเสียงจนได้ตามที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการผสมเสียง หรือ Mixing ซึ่งก็จะเป็นปรับเสียงต่าง ๆ ให้ได้ตามที่ต้องการเช่น ความดัง-เบา การวางตำแหน่งของเสียงต่าง ๆ (ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง) รวมไปถึงการใส่เอฟเฟคต่าง ๆ ให้กับเสียง อีกด้วย

จากขั้นตอนการทำเพลงทั้งหมด จะเห็นได้ว่า โปรแกรมทำเพลง นั้นถูกออกมาแบบมาเพื่อให้รองรับการทำงานทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมอื่น ๆ ช่วย สามารถทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงานได้เลยในโปรแกรมเดียว ซึ่งในปัจจุบันนอกจากโปรแกรมเหล่านี้จะบันทึกเสียงได้แล้วยังมีเครื่องดนตรีจำลองมาให้ด้วย ทำให้การแต่งเพลงนั้นสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก เพราะไม่จำเป็นต้องบันทึกเสียงอย่างเดียวแต่ยังสามารถเล่นเครื่องดนตรีที่ต้องการจากคอมพิวเตอร์ของเราได้เลย

 

เลือกซื้อ Audio Interface ไว้ใช้สำหรับทำเพลง คลิกเลย!

 

4 โปรแกรมทำเพลงฟรี สำหรับมือใหม่

สำหรับ โปรแกรมทำเพลงฟรี อย่างแรกต้องยอมรับก่อนเลยว่า อาจจะทำได้ไม่เท่ากับโปรแกรมที่เสียเงินแต่โปรแกรมฟรีพวกนี้ก็สามารถให้เราฝึกใช้งานได้สำหรับผู้เริ่มต้นเพราะพื้นฐานของโปรแกรมนั้นจะเหมือนกัน โปรแกรมฟรีเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนไว้ให้ฝึกใช้งานในเบื้องต้นและเมื่อพร้อมค่อยเสียเงินกับโปรแกรมดี ๆ

1.Garage Band (สำหรับMacเท่านั้น)

เป็นโปรแกรมทำเพลงที่ทาง Apple นั้นให้ติดมากับเครื่อง Mac เลย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมือใหม่ที่อาจจะเล่นดนตรีพอได้บ้าง หรืออาจจะเล่นเครื่องดนตรีไม่ได้เลยก็ยังสามารถทำเพลงได้จากโปรแกรมนี้ เพราะตัวโปรแกรมมีตัวช่วยในการแต่งเพลงพื้นฐานให้มาค่อนข้างเยอะทำให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับมือใหม่ และทำความเข้าใจค่อนข้างง่ายเรียกว่าเป็นโปรแกรมที่เหมาะสุดๆ สำหรับมือใหม่

2.Cakewalk

เป็นโปรแกรมฟรีอีกหนึ่งโปรแกรมที่เคยได้รับความนิยม แต่ในปัจจุบันมีโปรแกรมตัวอื่น ๆ ที่ทำได้ดีกว่าและฟรีเหมือนกัน ตัวโปรแกรมมีข้อจำกัดและใช้งานได้ไม่ง่ายนัก อาจจะต้องทำความเข้าใจและใช้เวลาเรียนรู้กับมันซักหน่อย

3.Soundbridge

เป็นโปรแกรมที่ไม่เชิงฟรีซะทีเดียว แต่เจ้าของโปรแกรมใช้วิธีให้ผู้ใช้บริจาคเงินให้แต่ถ้าเราไม่บริจาคก็ยังสามารใช้โปรแกรมได้อยู่อีกเหมือนกัน หน้าต่างของโปรแกรมจะมีหน้าต่างค่อนข้างเยอะ ถ้าไม่เคยใช้โปรแกรมทำเพลงมาก่อนเลยอาจจะมึนงงซักหน่อย แต่เชื่อว่าไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน

4.Reaper

เป็นโปรแกรมที่ไม่เชิงฟรีซักทีเดียวอีกหนึ่งโปรแกรม เพราะเป็นการให้ทดลองใช้ 60 วันแต่ว่าเราสามารถหลอกโปรแกรมให้อยู่ในช่วงทดลองใช้ตลอดได้ ส่วนตัวโปรแกรมนั้นถือว่าใช้งานได้ดีมาก ๆ เพราะเป็นตัวโปรแกรมเต็ม สามารถใช้ฟังชั่นการใช้งานได้ครับ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับมือใหม่อีกหนึ่งโปรแกรม ดาวโหลดโปรแกรมได้ที่นี้

 

แนะนำ 5 โปรแกรมทำเพลงเสียตังค์ ของเหล่ามืออาชีพ

1.Logix Pro X  (สำหรับMacเท่านั้น)

เป็นโปรแกรมทำเพลงแบบจ่ายเงินของ Apple ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ เพราะตัวโปรแกรมนั้นค่อนข้างครบเครื่องสุด ๆ ถือเป็นโปรแกรม Garage Band ที่อัพเกรดขึ้นมาเป็นระดับมืออาชีพ แต่ก็อาจจะมีข้อเสียในการใช้งานอยู่บ้าง แต่มืออาชีพส่วนใหญ่ก็ยังให้ความไว้วางใจอยู่

2.Avid Pro Tools

เป็นโปรแกรมทำเพลงระดับอาชีพอย่างแท้จริง ด้วยราคาที่สูง รวมไปถึงจำเป็นต้องใช้ Interface ของทางแบรนด์ทำให้มีความยุ่งยากในการใช้งานค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าในระดับสตูดิโอใหญ่ ๆ แล้ว Pro Tools ถือเป็นโปรแกรมทำเพลงที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง แต่ถ้าในระดับโฮมสตูดิโอถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่

3.Cubase

เป็นโปรแกรมทำเพลงที่มีชื่อเสียงอีกตัวหนึ่ง ใช้งานง่ายและรวดเร็วแต่ก็มีข้อเสียในเรื่องของคุณภาพเสียงอยู่บ้างแต่ก็ยังยอมรับได้ มืออาชีพบางคนชอบใช้งานเพราะด้วยความง่ายและความสะดวก รวดเร็ว

4.Ableton LIve

เป็นโปรแกรมทำเพลงที่สายเพลง EDM ใช้กันทุกคนเลยก็ว่าได้ เพราะโปรแกรมถูกออกแบบมาสำหรับเพลงสายนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นฟังชั่นต่าง ๆ การทำ Loop  รวมไปถึงการ Mixing เรียกว่าใช้งานได้ง่ายสุด ๆ สำหรับชาวเพลง EDM

5.Studio One

เป็นโปรแกรมทำเพลงน้องใหม่มาแรง เพราะได้นำข้อดี-ข้อเสียของโปรแกรมทำเพลงอื่น ๆ มามัดรวมและทำออกมาเป็นของตัวเอง ทั้งใช้งานง่ายและลดข้อเสียของโปรแกรมอื่น ๆ ไปจนเกือบหมด แต่ถ้าใครคิดจะเปลี่ยนมาใช้งาน Studio One ก็อาจจะต้องปรับตัวกันไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ใช้โปรแกรมทำเพลงไหนอะไรดี

โปรแกรมทำเพลงที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นต้องยอมรับมีหลากหลายโปรแกรมมาก ๆ และทุกๆ โปรแกรมนั้นมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่จริง ๆ แล้ว โดยพื้นฐานการใช้งานนั้นเหมือนกันแทบจะเหมือนกันทุกโปรแกรมเลยทีเดียว จึงอยากจะให้ทุกคนนั้นได้ลองใช้โปรแกรมทำเพลงซักโปรแกรมนึงก่อน เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานการทำงานแล้ว ถ้าชอบหรือไม่ชอบโปแกรมนั้น ๆ ก็ยังสามารถเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นก็ยังได้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับโปรแกรมใดโปรแกรมเดียว

 

นอกจากโปรแกรมทำเพลงแล้วยังมีเกมดนตรีสนุกๆ ให้เล่นด้วยลองไปติดตามกัน

5 เกมกลอง เสมือนจริง! ที่คนชอบตีกลองต้องลอง 2019
Rocksmith เกมส์กีต้าร์ เสมือนจริงต่อยอดกีต้าร์จริงได้ (จากศูนย์ถึงขั้นเทพ)
5 เกมส์เปียโน เสมือนจริง ที่ใช้ฝึกเล่นเพื่อต่อยอดเปียโนจริงได้ 2019 ฟรี!