ในบทความนี้จาก Big Bro Music เป็นการรวบรวม โน๊ตกลอง ของทางทีมงานของเรา มาแจกกัน โดยในแต่ละบทเพลงจะพูดเทคนิคต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละเพลงเพื่อให้ผู้อ่านรู้จักและเข้าใจถึง เทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างง่าย ซึ่งทางทีมงานของเรานั้นเริ่มต้นได้จัดทำโน้ตชุดนี้ขึ้นมาเพื่อใช้สอนภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์จึงได้นำมาแชร์กัน โดยเพลงนั้นจะถูกแบ่งขั้นตามลำดับความยาก-ง่าย โดยจะเริ่มจากเพลงที่ง่ายที่สุดโดย โดยจะมีความซับซ้อนน้อย เทคนิคน้อย ตีตามได้ง่ายๆ จนกระทั่งไปจนถึงเพลงที่มีระดับความยากสูงสุดที่มีเทคนิคขั้นสูงและรายละเอียดของเพลงเยอะ
List รายชื่อ 13 โน๊ตกลอง จากเพลงไทยยอดฮิต มีเพลงอะไรบ้าง ง่าย-ยาก (เลือกอ่านได้)
- เพลง เคลิ้ม – Slot Machine
- เพลง ทราย – วัชราวลี
- เพลง ก้อนหินละเมอ – Soul After Six
- เพลง คืนนี้สบาย – Tattoo Colour
- เพลง อาย – สิงโต นำโชค (แจ่มจันทร์ โปรเจค)
- เพลง แตกต่างเหมือนกัน – Getsunova
- เพลง ไม่บอกเธอ – Bed Room Audio
- เพลง ไม่มีเธอ(กล่องดวงใจ) – Paradox
- เพลง ธิดาประจำอำเภอ – The Rich Man Toy
- เพลง ที่รัก(เธอ) – เอก สุระเชษฐ์
- เพลง กระเป๋าแบนแฟนยิ้ม – The Rich Man Toy
- เพลง เรือเล็กควรออกจากฝั่ง – Bodyslam
- เพลง เสี้ยม – Zeal
1. โน๊ตกลองเพลง เคลิ้ม – Slot Machine
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
มาเริ่มกันที่เพลงแรกกันเลยกับเพลงเคลิ้มของวง Slot Machine ซึ่งในบทความนี้ถือเป็นเพลงที่ง่ายที่สุด โดยบทเพลงนี้จะมาในแนว Rock โดยใช้ Time Signature 4/4 เป็นจังหวะมาตรฐานที่ถูกใช้ในบทเพลงทั่วไป โดย โน้ตกลอง ที่ถูกนำมาใช้เป็นสัดส่วนโน้ตตัวดำ (Quarter Note) โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) และเขบ็ต2ชั้น ( Sixteenth Note)
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- 16th note single stroke (ห้อง. 13-16, 35-38, 55-59)
- Hi-hat opening/closing (ห้อง. 5-8)
- Crescendo (ห้อง16, 58-59)
2. โน๊ตกลองเพลง ทราย – วัชราวลี
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
ในส่วนของเพลงที่ 2 ยกระดับความยากขึ้นมาอีกเล็กน้อย โดยเพลงนี้เพลงช้าที่มาใน groove แบบ Funk ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวะที่มือกลองทุกคนจะต้องรู้จักและเล่นให้ได้ โดยเพลงนี้ยังคงใช้โน้ตเหมือนกับเพลงที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมา แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพลงที่กลองยังไม่ซับซ้อนมากเท่าไหร่ ซึ่งทำให้ผู้ฝึกสามารถโฟกัสกับการตีได้ ไม่ต้องพะวงในส่วนของท่อนเพลงมากนัก
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Funk groove
- 16th note single stroke on hi-hat with R-hand (ห้อง. 5-9, 20-22)
- Cross stick control (ห้อง. 5-8)
3. โน๊ตกลองเพลง ก้อนหินละเมอ – Soul After Six
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 2
ถือเป็นอีกหนึ่งเพลงในตำนานกับเพลงอย่าง ก้อนหินละเมอ ของวง Soul After Six ที่มือกลองควรจะต้องเล่นให้ได้ เพราะถือเป็นเพลงที่มี Groove แบบ Funk อย่างชัดเจน ตัวเพลงไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป ทำให้เหมาะแก่การนำมาเป็นแบบฝึกหัดอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้น โดยยังคงใช้จังหวะ 4/4 แบบ 2 เพลงแรก และโน้ตจังหวะก็เช่นกันยังไม่มีโน้ตที่ละเอียดกว่าโน้ตเขบ็ต2ชั้น
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Funk
- Coordination between hands & foot within 16th note
- 16th note fill-in with multiple stops (e.g. 12, 28, 36, 43, 59)
4. โน๊ตกลองเพลง คืนนี้สบาย – Tattoo Colour
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
มาถึงเพลงที่4 ขยับจังหวะเร็วขึ้นมาอีกหน่อย กับเพลงสนุกๆ อย่าง คืนนี้สบาย ของวง Tattoo Colour โดยเพลงนี้เป็นการรวมกันของ Groove เพลงแบบ Funk และ Rock เรียกว่า Funk Rock นั้นเอง โดยยังคงใช้ Time Signature และค่าของโน้ตที่เหมือนเดิมกับเพลงที่ผ่านมา โดยเพลงนี้มีเทคนิคที่ซับซ้อนและละเอียดขึ้นมาตามสเตป โดยอาจจะต้องใช้เวลาฝึกมากขึ้นกว่าจะเก็บรายละเอียดได้ครบ
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Funk rock
- Unison (e.g. 1-4, 59-66)
- Groove dance: 16th note single stroke on hi-hat (e.g. 5-12)
- Buzz roll (or multiple bounce roll) on snare (67-69)
- Mute hi-hat (e.g. 8, 12, 37)
5. โน๊ตกลองเพลง อาย – สิงโต นำโชค (แจ่มจันทร์ โปรเจค)
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
มาถึงเพลงที่ 5 กันแล้วซึ่งเพลงนี้ถือเป็นเพลงสนุกๆอีกหนึ่งเพลงต่อเนื่องกันมาจากเพลงที่แล้ว โดยเพลงนี้ยังคงมีจังหวะแบบ Funk และรายละเอียดใกล้เคียงกับเพลงคืนนี้สบาย ถือว่ายังอยู่ในระดับเดียวกัน โดยเพลงนี้ยังคงใช้จังหวะ 4/4 และ โน๊ตกลอง จังหวะเดิม แต่จะมีการเพิ่มโน้ตสามพยางค์เข้ามาด้วย ทำให้มีความซับซ้อนเพิ่มข้นในการตี แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปอย่างแน่นอน ถ้าเราเข้าใจจังหวะและวิธีการแบ่งสัดส่วนของโน้ต
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- 16th note triplet fill-in (ห้อง49)
- Flam (ห้อง58, 68, 72, 81-82)
- Ghost note in 8th note funk (ห้อง39, 52-56, 69-73)
- 8th note funky style accentuation on ride cymbal (ห้อง69-73)
- Playing cymbal swells (ห้อง75)
6. โน๊ตกลองเพลง แตกต่างเหมือนกัน – Getsunova
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
เพลงต่อไปลองมาดูเพลง Rock กันบ้าง กับเพลง แตกต่างเหมือนกัน ซึ่งเป็นเพลง Rock ที่มีการผสม Groove แบบ Dance เข้ามาในบางช่วงของเพลง ในส่วนของเทคนิคเพลงนี้เรียกว่ายกระดับขึ้นมาเล็กน้อยจากเพลงที่ผ่าน มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น โดยกลับมาใช้โน้ตตัวดำ โน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น และเขบ็ตสองชั้น และยังคงเป็นจังหวะ 4/4 อีกเช่นเคย
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Dance + Rock
- Playing fast speed on right foot or playing normal speed with double BD (e.g. 2, 29, 54)
- 16th note single stroke on double BD (61)
7. โน๊ตกลองเพลง ไม่บอกเธอ – Bed Room Audio
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
กลับสู่เพลง Rock อย่างเต็มตัวกับเพลง ไม่บอกเธอ ซึ่งถือว่าเป็นอีกเพลงที่ถ้าเล่นได้แล้ว ก็ครอบคลุมเพลงแนวนี้ในระดับนึงเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าเพลงนี้อาจจะเป็นเพลงจังหวะกลางๆ แต่จริงๆ มีการเล่นโน้ตที่ค่อนข้างละเอียดเลยทีเดียว ทั้งในส่วนของเทคนิคและโน้ตที่นำมาใช้ ซึ่ง โน้ตกลอง ที่ถูกนำมาใช้นั้นก็คือโน้ตเขบ็ต 3 ชั้น นั้นเอง ซึ่งเพลงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดเพลงแรกที่มีการเล่นละเอียดในระดับนี้ ดังนั้นอยากให้ค่อยๆฝึกและเริ่มเล่นจากช้าๆ เพื่อให้ได้ความถูกต้องก่อนค่อยเพิ่มความเร็วขึ้นมา
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Rock
- 32nd note single stroke (ห้องที่94, 100)
8. โน๊ตกลองเพลง ไม่มีเธอ(กล่องดวงใจ) – Paradox
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลง Upbeat เพลงแรกเลยในบทความนี้ ซึ่งเป็นเพลง Rock ที่มีความเร็วขึ้นมาอีกนิดนึง โดยเพลงนี้ถือว่าเทคนิคครบถ้วนและนอกจากนั้นยังมีความเร็วอีกด้วย อาจจะต้องเริ่มฝึกจากช้าๆก่อนเพื่อให้คุ้นชินกับจังหวะและตัวเพลง ในเพลงนี้นั้นยังคงใช้โน้ตและจังหวะเหมือนกับเพลง ไม่บอกเธอ เพลงที่แล้วแต่จะมีความเร็วที่มากขึ้นนั้นเอง รวมไปถึงเทคนิคที่มีรายละเอียดมากขึ้นในแต่ละช่วงของเพลง
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Rock upbeat (5-12)
- Mute crash (e.g. 13, 30-32)
- 32nd note single stroke (21, 27)
- Unison (42-43)
- 16th note single stroke with coordination of R-hand and R-foot (42-47)
9. โน๊ตกลองเพลง ธิดาประจำอำเภอ – The Rich Man Toy
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
สำหรับเพลงนี้ยังคงเป็นเพลง Rock ที่ผสมจังหวะดนตรีความเป็นลูกทุ่งเข้ามาในเพลงค่อนข้างเยอะ ทำให้ได้รู้จักจังหวะแบบของไทย ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีที่จะทำให้เราเล่นได้หลากหลายมากขึ้น โดยความยากของเพลงนี้จะมีการผสมจังหวะแบบ 4/4 และ 3/4 อยู่ในเพลงอาจจะฝึกนับจังหวะให้เป็นเพื่อที่จะได้เล่นอย่างถูกต้อง โดยใน โน้ตกลองที่ แนบไว้ให้นั้นได้ระบุบไว้ให้แล้วยังไงก็อยากให้ลองฝึกนับกันดู
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Rock + Thai traditional style
- Rock style with coordination between R-foot and L-hand (1-8, 51-56)
- Unison (e.g. 20, 50, 62)
- 32nd note single (51-55)
- Multiple time-signature playing (63-66)
10. โน๊ตกลองเพลง ที่รัก(เธอ) – เอก สุระเชษฐ์
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
ในส่วนของเพลงนี้ถึงแม้หลายคนอาจจะฟังแล้วไม่รู้สึกถึงรายละเอียด แต่จริงๆ แล้วเป็นเพลงที่ถือว่าเล่นไม่ง่ายเลย เพราะมีรายละเอียดเยอะทีเดียว ถ้าต้องการเล่นให้เหมือน โดยเพลงนี้กลับมาในแนว Pop Funk และใช้โน้ตแบบสามพยางค์อีกครั้ง โดยในเพลงนี้มีเทคนิคที่ยากขึ้น คือเทคนิค Double Stroke Roll และมีการเล่นแล้วหยุดโน้ตอีกด้วย
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Pop funk
- 16th note triplet (15)
- Double stroke roll (38, 47, 55)
- 8th note funky style accentuation on ride cymbal with multiple stop notes (53-56)
11. โน๊ตกลองเพลง กระเป๋าแบนแฟนยิ้ม – The Rich Man Toy
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
กลับมาในแนว Rock จังหวะมันๆ อีกครั้งกับเพลง กระเป๋าแฟนยิ้ม ในส่วนของ โน้ตกลอง เพลงนี้นั้นก็ยกระดับความยากขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่ยากขึ้นก็คือความเร็วของเพลงนั้นเอง โดยมีการเล่นแบบ Upbeat อีกด้วยในบางท่อนของเพลง ซึ่งถ้าใครเล่นเพลงนี้ได้อยู่ ก็เรียกว่าพ้นจากระดับกลางมาแล้ว
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Upbeat rhythm on hi-hat (1-12)
- Hands coordination (13-21)
- Fast speed 16th note single stroke on hi-hat & drums (23-26, 57-62)
- Upbeat rhythm with multiple stop notes (e.g. 32-34, 66-68)
- Unison (e.g. 38, 64, 72)
12. โน๊ตกลองเพลง เรือเล็กควรออกจากฝั่ง – Bodyslam
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
สำหรับใครหลายคนแล้วคงไม่พูดถึงวงนี้ไม่ได้นั้นก็คือ Bodyslam นั้นเองซึ่งแน่นอนว่าเพลงนี้ก็จะต้องมาในจังหวะ Rock อย่างแน่นอน โดยเทคนิคในเพลงนี้ถือว่าซับซ้อนและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะทีเดียว ถือว่าเป็นเพลงที่อยู่ในระดับความยาก ระดับสูงแล้ว โดยเทคนิคทั้งหมดนั้นอาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนจากแบบฝึกหัดก่อนนำมาใช้งานในเพลง เพื่อให้นำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ แต่ในส่วนของสัดส่วนตัวโน้ตนั้นยังคงใช้จังหวะ 4/4 และโน้ตมาตรฐานไม่ซับซ้อนมากนัก จะเน้นในส่วนของเทคนิคมากกว่า
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Rock
- Fast finger technique (e.g. 36-41)
- 8th note triplet (58-60)
- 32nd note single stroke (64, 89)
- 16th note triplet (67)
13. โน๊ตกลองเพลง เสี้ยม – Zeal
โน๊ตหน้า 1
โน๊ตหน้า 2
โน๊ตหน้า 3
มาถึงเพลงสุดท้ายที่อยู่ในเลเวลสูงสุดในบทความนี้ ถือว่าเป็น Last Boss ซึ่งถ้าใครสามารถเล่นเพลงนี้ได้ ก็ถือว่าเป็นระดับสูงมากๆ แล้ว เพราะเพลงนี้มีรายละเอียดของจังหวะที่ถูกเปลี่ยนไปเกือบตลอดทั้งเพลง และโน้ตก็ซับซ้อนมาก นอกจากนั้น เทคนิคที่นำใช้ ก็ล้วนแต่เป็นเทคนิคขั้นสูงทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเขียนปราบบอสตัวนี้ลงได้ก็ถือว่า เล่นกลองได้อย่างโหดเลยทีเดียว
เทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละช่วงของเพลง
- Rock
- 32nd note single stroke roll (6, 14, 29, 39, 55, 91, 105-160)
- 16th note triplet (66)
- Coordination of hand & foot playing 16th note on 3 against 4 (51)
ครบไปแล้วกับ โน้ตกลอง ทั้ง 13 เพลง ซึ่งคิดว่าล้วนเป็นเพลงที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่ละเพลงล้วนมีจุดประสงค์ของการเล่นเพื่อให้ผู้ฝึก ได้รู้จักและฝึกเทคนิคต่างๆ ซึ่งจะได้สามารถนำไปใช้งานต่อในเพลงอื่นๆ ได้ หากใครที่เป็นมือใหม่ ไม่สามารถอ่านโน๊ตกลองได้หรือไม่เข้าใจเทคนิคแต่ละแบบที่ใช้ในเพลง สามารถรอติดตาม Big Bro Music ได้เร็วๆนี้ จะมีสอนการอ่านโน๊ตกลองและเทคนิคที่นิยมนำไปใช้ในการเล่นกลองสำหรับเพลงไทย ในโอกาสบทความต่อๆไป ติดดาวไว้เลยจะได้ไม่พลาดกันนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีเพจ ME Teachers ที่สนับสนุนโน๊ตกลองดีไว้ให้พวกเราได้เล่นกัน